ไปดูปั้นหุ่นจากเศษขยะ งานศิลปะที่โรงไฟฟ้าให้รร.
( 19 ก.พ. 64 ) นายเขมชาติ สถิตย์ตันติเวช ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด เปิดเผยว่า ได้นำคณะผู้บริหารสถานศึกษาหลายแห่ง รอบพื้นที่โรงไฟฟ้าราชบุรี มาศึกษาดูงานบ้านของอาจารย์อุดม นิลรัตน์สุวรรณ อายุ 62 ปี อดีตข้าราชการครู ปั้นหุ่นจากเศษขยะที่เหลือใช้ เช่น โฟม เศษเหล็ก เศษแก้ว ถุงพลาสติก และขยะอื่น ๆ นำมาสร้างรูปการ์ตูนศิลปะที่สวยงามแปลกตา รูปลักษณ์ที่เก๋ไก๋สวยงาม และยังมีความสามารถวาดภาพ และการปั้นถ้วยลากุ ลักษณะเป็นแก้วถ้วยขนาดกะทัดรัด มีลวดลายการเผามาจากเศษใบไม้สวยงามในรูปแบบที่เป็นธรรมชาตินำไปปลูกต้นกระบองเล็ก และต้นไม้อื่น ๆ ตกแต่งประดับบ้าน หรือเป็นของขวัญ ของที่ระลึก ช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชนพื้นที่ได้เป็นอย่างดี และยังเป็นอาชีพเสริมให้กับผู้ที่สนใจอยากจะมีรายได้ช่วงสถานการณ์ยุคโควิด - 19 ได้อีกด้วย
นายเขมชาติ สถิตย์ตันติเวช ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด กล่าวว่า ช่วงนี้ยังคงอยู่ในช่วงสถานการณ์โควิด - 19 ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ หรือการค้าขายในพื้นที่ไม่สามารถค้าขายได้ตามปกติ ยอดขายยังตกลง ทางโรงไฟฟ้าเห็นว่า การได้เข้ามาส่งเสริมให้ชุมชนที่มีกิจกรรมและสินค้าหรือวิสาหกิจชุมชนต่าง ๆ ช่วยเหลือตัวเองได้ โดยการเป็นตัวประสานเชื่อมโยงในกลุ่มที่สนใจ เช่น วันนี้ได้พาครู เครือข่ายโรงไฟฟ้า 27 โรงเรียนมาศึกษาดูงาน ซึ่งทางคณะครูเห็นว่าสามารถสร้างรายได้ให้กับเด็ก และยังเป็นการช่วยเหลือ ลดปัญหาเรื่องของขยะด้านสิ่งแวดล้อมได้ด้วย ซึ่งเป็นนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความผูกพันระหว่างชุมชนที่เป็นท้องถิ่นกับนักเรียนที่อยู่ในพื้นที่ให้มีความผูกพัน และได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เหมือนกับว่าแต่ละวัยมาเจอกัน ทำให้กิจกรรมเหล่านี้เด็กได้เรียนอย่างมีทักษะเชิงปฏิบัติการ จับต้องได้เป็นของจริง ส่วนโรงเรียนยังสามารถทำให้เด็กสนใจเรื่องศิลปะต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น อย่างลากุ ถ้ามองจะเห็นว่ามีทั้งศิลปะและการสอดแทรกเรื่องของมิติการลดขยะ เช่น การเผาลากุให้เป็นลายจะนำเศษใบไม้ที่ทิ้งก็สามารถนำมาเผาและนำดินที่ใช้มือปั้นลากุไปเผากับตัวเศษใบไม้จะออกมาเป็นรูปแบบที่สวยงาม เป็นสิ่งที่ถือว่าทำให้กิจกรรมเหล่านี้ช่วยเรื่องการลดโลกร้อนของสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่งด้วย
ดร.บุศรินทร์ สิริปัญญาธร ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดพิกุลทอง ( แปลกประชาคาร ) เปิดเผยว่า มาดูแล้วได้หลายแนวคิด อันดับแรกคือ ที่โรงเรียนจะมีพื้นฐานด้านศิลปะมาบ้างแล้ว การต่อยอดวาดภาพให้เป็นชิ้นงานที่เกิดความสวยงามจะง่ายกว่า และยังใช้งบประมาณไม่มากนัก ส่วนเรื่องที่สองคือ การนำขยะมาทำเป็นหุ่นกระถางต้นไม้ก็น่าสนใจ แต่อาจจะมีความซับซ้อนมากกว่า ใช้งบประมาณไม่มาก ที่สำคัญคือลดปริมาณขยะก็น่าสนใจ จากการมาที่บ้านนี้คิดว่าเด็กได้ทักษะคือประสบการณ์และที่สำคัญคือเด็กได้พัฒนาสมองซึ่งจะมีอยู่ 2 ซีก และควรจะพัฒนาด้านศิลปะด้านอารมณ์ศิลปิน หรือว่าอารมณ์ของความเป็นศิลปะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกับเด็กวัยรุ่นคิดว่าสามารถต่อยอดได้ ซึ่งเตรียมจะนำเด็กมาเรียนการวาดภาพในเร็ว ๆ นี้ เพื่อให้ทุกคนได้มีชิ้นงานทำให้เกิดความภาคภูมิใจด้วย
โดยในวันที่ 22 ก.พ. 64 โรงเรียนวัดบางลี่เริ่มเป็นโรงเรียนแรก ต่อมาวันที่ 23 ก.พ. 64 เป็นโรงเรียนวัดพิกุลทอง สำหรับผู้ที่สนใจมาศึกษาดูงานติดต่อได้ที่อาจารย์อุดม นิลรัตน์สุวรรณ โทร 097 - 2507020
น้อง ๆ นักเรียน 27 โรงเรียนรอบพื้นที่โรงไฟฟ้าราชบุรี เตรียมตัวให้พร้อม คุณครูจะพาไปปั้นหุ่นจากเศษขยะ วาดภาพ ปั้นถ้วยลากุสไตล์ญี่ปุ่นรับรองสนุกแน่ ได้ความรู้เพิ่มทักษะ 22 ก.พ.เริ่มโรงเรียนแรก
( 19 ก.พ. 64 ) นายเขมชาติ สถิตย์ตันติเวช ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด เปิดเผยว่า ได้นำคณะผู้บริหารสถานศึกษาหลายแห่ง รอบพื้นที่โรงไฟฟ้าราชบุรี มาศึกษาดูงานบ้านของอาจารย์อุดม นิลรัตน์สุวรรณ อายุ 62 ปี อดีตข้าราชการครู ปั้นหุ่นจากเศษขยะที่เหลือใช้ เช่น โฟม เศษเหล็ก เศษแก้ว ถุงพลาสติก และขยะอื่น ๆ นำมาสร้างรูปการ์ตูนศิลปะที่สวยงามแปลกตา รูปลักษณ์ที่เก๋ไก๋สวยงาม และยังมีความสามารถวาดภาพ และการปั้นถ้วยลากุ ลักษณะเป็นแก้วถ้วยขนาดกะทัดรัด มีลวดลายการเผามาจากเศษใบไม้สวยงามในรูปแบบที่เป็นธรรมชาตินำไปปลูกต้นกระบองเล็ก และต้นไม้อื่น ๆ ตกแต่งประดับบ้าน หรือเป็นของขวัญ ของที่ระลึก ช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชนพื้นที่ได้เป็นอย่างดี และยังเป็นอาชีพเสริมให้กับผู้ที่สนใจอยากจะมีรายได้ช่วงสถานการณ์ยุคโควิด - 19 ได้อีกด้วย
นายเขมชาติ สถิตย์ตันติเวช ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด กล่าวว่า ช่วงนี้ยังคงอยู่ในช่วงสถานการณ์โควิด - 19 ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ หรือการค้าขายในพื้นที่ไม่สามารถค้าขายได้ตามปกติ ยอดขายยังตกลง ทางโรงไฟฟ้าเห็นว่า การได้เข้ามาส่งเสริมให้ชุมชนที่มีกิจกรรมและสินค้าหรือวิสาหกิจชุมชนต่าง ๆ ช่วยเหลือตัวเองได้ โดยการเป็นตัวประสานเชื่อมโยงในกลุ่มที่สนใจ เช่น วันนี้ได้พาครู เครือข่ายโรงไฟฟ้า 27 โรงเรียนมาศึกษาดูงาน ซึ่งทางคณะครูเห็นว่าสามารถสร้างรายได้ให้กับเด็ก และยังเป็นการช่วยเหลือ ลดปัญหาเรื่องของขยะด้านสิ่งแวดล้อมได้ด้วย ซึ่งเป็นนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความผูกพันระหว่างชุมชนที่เป็นท้องถิ่นกับนักเรียนที่อยู่ในพื้นที่ให้มีความผูกพัน และได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เหมือนกับว่าแต่ละวัยมาเจอกัน ทำให้กิจกรรมเหล่านี้เด็กได้เรียนอย่างมีทักษะเชิงปฏิบัติการ จับต้องได้เป็นของจริง ส่วนโรงเรียนยังสามารถทำให้เด็กสนใจเรื่องศิลปะต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น อย่างลากุ ถ้ามองจะเห็นว่ามีทั้งศิลปะและการสอดแทรกเรื่องของมิติการลดขยะ เช่น การเผาลากุให้เป็นลายจะนำเศษใบไม้ที่ทิ้งก็สามารถนำมาเผาและนำดินที่ใช้มือปั้นลากุไปเผากับตัวเศษใบไม้จะออกมาเป็นรูปแบบที่สวยงาม เป็นสิ่งที่ถือว่าทำให้กิจกรรมเหล่านี้ช่วยเรื่องการลดโลกร้อนของสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่งด้วย
ดร.บุศรินทร์ สิริปัญญาธร ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดพิกุลทอง ( แปลกประชาคาร ) เปิดเผยว่า มาดูแล้วได้หลายแนวคิด อันดับแรกคือ ที่โรงเรียนจะมีพื้นฐานด้านศิลปะมาบ้างแล้ว การต่อยอดวาดภาพให้เป็นชิ้นงานที่เกิดความสวยงามจะง่ายกว่า และยังใช้งบประมาณไม่มากนัก ส่วนเรื่องที่สองคือ การนำขยะมาทำเป็นหุ่นกระถางต้นไม้ก็น่าสนใจ แต่อาจจะมีความซับซ้อนมากกว่า ใช้งบประมาณไม่มาก ที่สำคัญคือลดปริมาณขยะก็น่าสนใจ จากการมาที่บ้านนี้คิดว่าเด็กได้ทักษะคือประสบการณ์และที่สำคัญคือเด็กได้พัฒนาสมองซึ่งจะมีอยู่ 2 ซีก และควรจะพัฒนาด้านศิลปะด้านอารมณ์ศิลปิน หรือว่าอารมณ์ของความเป็นศิลปะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกับเด็กวัยรุ่นคิดว่าสามารถต่อยอดได้ ซึ่งเตรียมจะนำเด็กมาเรียนการวาดภาพในเร็ว ๆ นี้ เพื่อให้ทุกคนได้มีชิ้นงานทำให้เกิดความภาคภูมิใจด้วย
โดยในวันที่ 22 ก.พ. 64 โรงเรียนวัดบางลี่เริ่มเป็นโรงเรียนแรก ต่อมาวันที่ 23 ก.พ. 64 เป็นโรงเรียนวัดพิกุลทอง สำหรับผู้ที่สนใจมาศึกษาดูงานติดต่อได้ที่อาจารย์อุดม นิลรัตน์สุวรรณ โทร 097 - 2507020
///////////////////////////////////////////////
พันธุ์ - จรรยา แก้วนุ้ย จ.ราชบุรี
ไปดูปั้นหุ่นจากเศษขยะ งานศิลปะที่โรงไฟฟ้าให้รร.
Reviewed by หนังสือพิมพ์มติธรรม
on
03:21
Rating: